วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การใช้งาน ผนังกันฝน

ผนังกันฝน


หากมองย้อนกลับ ไปในสมัยที่มีการเผยแพร่ความรู้เรื่องภาวะเรือนกระจก หรือ Greenhouse effect ในแวดวงการก่อสร้างก็เช่นเดียวกัน ได้มีการตื่นตัวเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีความพยายามในการคิดค้นวัสดุทดแทนไม้ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น อิฐมวลเบา ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อที่มีน้ำหนักเบา และในเวลาต่อมา ได้มีการพัฒนาวัสดุแผ่นเพื่อใช้ทำผนังภายนอกทดแทนการใช้ไม้ วัสดุอย่างเช่น แผ่นเซลโลกรีต จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ทำผนังภายนอกทดแทนการใช้ไม้ วัสดุเหล่านี้ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ถึงแม้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงก็ตาม เพราะนอกจากจะช่วยลดการตัดไม้แล้ว ยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของโครงสร้างลง เพราะมีน้ำหนักเบากว่าการใช้อิฐมอญ


ผนังก่ออิฐมวลเบา ผนังเซลโลกรีต

แต่ปัจจุบันพบว่านักออกแบบบ้านส่วน ใหญ่จะเลือกใช้วัสดุทดแทนเหล่านั้น กับตำแหน่งที่อยู่ภายในอาคารเท่านั้น อย่างเช่น ผนังภายใน และนิยมหันกลับไปใช้อิฐมอญตามเดิม สาเหตุสืบเนื่องมาจาก วัสดุเหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำฝนได้ไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งวัสดุแผ่นเหล่านั้นจะมีรอยต่อระหว่างแผ่น เมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี วัสดุยาแนวระหว่างรอยต่อของแผ่นก็จะเริ่มเสื่อมสภาพ เกิดปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึมเข้าสู่ภายในอาคาร จำเป็นต้องมีการยาแนวใหม่เป็นระยะๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาและสิ้นเปลื้องค่าใช้จ่าย



จากข้อจำกัดดังกล่าวจึงได้มีผู้คิดค้น ระบบผนังกันฝน หรือ Rain Screen ซึ่งผนังชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งวัสดุยาแนวรอยต่อภายนอก แต่ใช้ระบบผนังสองชั้นที่มีช่องว่างตรงกลางระหว่างผนังแทน แบ่งเป็น 2 แบบบ้านด้วยกัน คือ



1.ผนังกันฝนแบบบ้านระบาย น้ำ-อากาศ ผนังชนิดนี้จะใช้แผ่นวัสดุ 2 ชั้น สำหรับทำผนังภายนอกยึดเข้ากับโครงตามแนวตั้ง ด้านบนเปิดช่องว่างเพื่อให้อากาศไหลออกเมื่อมีน้ำซึมผ่านเข้ามา ผนังระบบนี้จะยอมให้น้ำซึมผ่านแผ่นวัสดุชั้นนอกเข้ามาได้ แต่ไม่สามารถผ่านแผ่นวัสดุชั้นที่สองซึ่งเป็นฉนวนกันน้ำ และสามารถระบายน้ำออกบริเวณด้านล่างได้



2.ผนังกันฝนแบบบ้านความกดอากาศสมดุล ผนังแบบบ้านที่สอง ผนังแบบบ้านนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบบ้านแรก แต่มีการออกแบบบ้านแผ่น วัสดุให้สามารถปรับความดันได้อย่างอิสระ เพื่อให้ความกดอากาศเท่ากันกับภายนอก ทำให้น้ำฝนไม่ซึมเข้ามาภายใน เมื่อไม่มีน้ำฝนเข้ามาภายใน ผนังชั้นในจึงไม่จำเป็นต้องเป็นผนังกันน้ำ



ในปัจจุบัน สำหรับต่างประเทศเราสามรถพบเห็น ระบบผนังกันฝน ที่ว่านี้ได้ตามอาคารพักอาศัยทั่วๆไป แต่สำหรับประเทศไทยอาจจะพบเห็นได้น้อย นอกจากอาคารสาธารณะขนาดใหญ่บางอาคารเท่านั้น แต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นระบบผนังกันฝนที่ว่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเนื่องจากจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันฝนและความชื้นที่ดีกว่าระบบผนัง สำเร็จรูปในปัจจุบันแล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้ระบบผนังกันฝนกับสไตล์การออกแบบบ้านที่นิยมใช้วัสดุแผ่น ขนาดเล็กมาสร้างให้เกิดลวดลายบนผนังได้อีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก บ้านและสวน www.baanlaesuan.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น